วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2556

ประวัติส่วนตัว



ประวัติส่วนตัว

ชื่อ สกุล :        ทิราภรณ์     สุภามูล     ชื่อเล่น  อิ๋ว
รหัสประจำตัว :   53174430
หมู่เรียน :         นิเทศศาสตร์ แขนงวารสารศาสตร์
กำลังศึกษาภาคซัมเมอร์ :      เทคโนโลยีสารสนเทศ ภาคพิเศษ เสาร์-อาทิตย์   01 
วัน เดือน ปี 22/03/35
E-mali :         aew_aew05@hotmail.com
Facebook         Kissme Arin
สีที่ชอบ :          ดำ ขาว
อาหารที่ชอบทาน  :   ก๋วยเตี๋ยว 
สัตว์เลี้ยง :        สุนัข ชื่อ ดุ๊กดิ๊ก
คติ  :                 ฝันให้ไกลไปให้ถึง
อนาคตอยากเป็น :   นักออกแบบดีไซน์
ศิลปินดาราที่ชอบ :   ศิลปิน วง TEEN TOP , INFINITE , 2PM





วันเสาร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2556

ผลงานเก่าๆ ของ ตัวเอง



เป็นผลงานที่อยู่ในระหว่างเรียน ฝีมืออยู่ในระดับ ต่ำอยู่ต้องพัฒนาฝีมือมากก^^


Infographic


project ประติมากรรมดินเผา


ตกแต่งรูป ในการแปะ

ดราฟรูปตัวเอง ในการโปรแกรม  illustrator


องค์ประกอบงานกราฟิก (Element of Design)

องค์ประกอบงานกราฟิก (Element of Design)

องค์ประกอบหลัก ๆ ในงานกราฟิกจะแบ่งออกเป็น 8 ชนิดคือ เส้น, รูปร่าง, รูปทรง, น้ำหนัก, พื้นผิว, ที่ว่าง, สี และตัวอักษร
องค์ประกอบงานกราฟิก : Element of Design
 เส้น (Line)



ลักษณะของเส้น (Line) แบบต่าง ๆ


ตามตารางมาตรฐานแล้วจะพูดถึงเรื่องนี้ว่าเป็นเรื่องของจุด เส้น ระนาบ แต่ถ้าจะเอาให้เข้าใจง่าย ๆ ก็เพียงแต่เข้าใจว่าความหมายของเส้นก็คือ การที่จุดหลาย ๆ จุด ถูกนำมาวางต่อเนื่องจนกลายเป็นเส้นรูปทรงต่าง ๆ ขึ้นมา รูปทรงของเส้นที่จะสื่อออกมาถึงความรู้สึกที่แตกต่างกันออกไป

          -      เส้นแนวนอน ให้ความรู้สึกสงบ ราบเรียบ
         -    เส้นตรงแนวตั้ง ให้ความรู้สึกมั่นคงแข็งแรง
         -    เส้นทแยง ให้ความรู้สึกไม่มั่นคง รวดเร็ว แสดงถึงเคลื่อนไหว
         -    เส้นตัดกัน ให้ความรู้สึกประสาน แข็งแกร่ง หนาแน่น
         -    เส้นโค้ง ให้ความรู้สึกอ่อนช้อย อ่อนน้อม
         -    เส้นประ ให้ความรู้สึก โปร่ง ไม่สมบูรณ์ หรือในบางกรณีอาจจะใช้เป็นสัญลักษณ์ในการ  แสดงถึง ส่วนที่ถูกซ่อนเอาไว้
         -    เส้นโค้งก้นหอย ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหวไม่มีที่สิ้นสุด
         -    เส้นโค้งแบบคลื่น ให้ความรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวอย่างนิ่มนวล
         -    เส้นซิกแซ็ก ให้ความรู้สึก น่ากลัว อันตราย

ส่วนใหญ่แล้วเส้นจะมีอยู่ทุกๆ งานออกแบบ โดยถูกนำไปใช้ร่วมกับองค์ประกอบต่างๆ จนสื่อถึงอารมณ์ของผลงานออกมาได้ ในแบบที่ต้องการ ดังนั้น การเลือกใช้เส้นเข้ามาเป็นส่วนประกอบในงานของเราจึงถือว่าเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรก


รูปร่าง (Shape), รูปทรง (Form) ,น้ำหนัก (Value)


รูปร่าง (Shape), รูปทรง (Form) ,น้ำหนัก (Value)

รูปร่าง  :  เป็นองค์ประกอบต่อเนื่องมาจากเส้น เกิดจากการนำเส้นแบบต่าง ๆ มาต่อกันจนได้รูปร่าง 2 มิติที่มีความกว้างและความยาว (หรือความสูง) ในทางศิลปะจะแบ่งรูปร่างออกเป็น 2 แบบคือ รูปร่างที่คุ้นตา แบบที่เห็นแล้วรู้เลยว่านั่นคืออะไร เช่นดอกไม้ หรือคน และอีกแบบหนึ่งจะเป็นรูปร่างแบบฟรีฟอร์ม เป็นแนวที่ใช้รูปร่างสื่อความหมายที่จินตนาการไว้ออกมา ไม่มีรูปทรงที่แน่นอน แต่ดูแล้วเกิดจินตนาการถึงอารมณ์ที่ต้องการสื่อได้
รูปทรง   : เป็นรูปร่างที่มิติเพิ่มขึ้นมากลายเป็นงาน 3 มิติคือ มีความลึกเพิ่มเข้ามาด้วย
น้ำหนัก  : เป็นส่วนที่มาเสริมให้ดูออกว่ารูปทรงมีน้ำหนักขนาดไหนเบา หรือหนัก ทึบ หรือโปร่งแสง น้ำหนักจะเกิดจากการเติมสีและแสงแรเงาลงไปในรูปทรงจนได้ผลลัพธ์ออกมาตามที่ต้องการ
ในการทำงานกราฟิกรูปร่างจะมีผลอย่างมากต่ออารมณ์ของงาน เช่น ถ้าต้องการงานที่อารมณ์ผู้หญิงจัด ๆ เพียงแค่ใส่รูปของดอกไม้ลงไปก็จะสามารถแสดงอารมณ์ได้อย่างชัดเจน หรือในงานที่ต้องการให้มีมิติมากขึ้นก็อาจจะเป็นรูปทรงของดอกไม้ในมุมมองที่แปลกตา ก็จะสามารถสื่ออารมณ์ที่ต้องการออกไปได้พร้อมกับเป็นการสร้างความน่าสนใจเพิ่มขึ้นมาอีกด้วย




 พื้นผิว (Texture)

พื้นผิว (Texture)



      ในงานออกแบบกราฟิก พื้นผิวจะเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบที่ช่วยสื่ออารมณ์ของงานออกมาได้ชัดเจนมากขึ้น เช่น ถ้าเราเลือกพิมพ์งานลงในกระดาษ Glossy ที่เงาและแวววาว งานนั้นจะสื่อกอกไปได้ทันทีว่า “หรู มีระดับ” หรือ ถ้าเราใส่ลวดลายที่ดูคล้าย ๆ สนิม หรือรอยเปื้อนลงไปในงานก็จะสื่อได้ทันทีถึง “ความเก่า”
ดังนั้นในการทำงาน นักออกแบบจึงควรเลือกสร้างพื้นผิวทั้งในองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ใส่ลงไปในภาพ รวมทั้งวัสดุที่ใช้พิมพ์งานดังกล่าวลงไป ก็จะสามารถช่วยสื่อความหมายที่ต้องการได้อย่างเหมาะสม


ที่ว่าง (Space)



 ที่ว่าง (Space)


        อาจจะจะเกิดจากความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจของนักออกแบบก็ได้ ที่ว่างไม่ได้หมายความถึงพื้นที่ว่างเปล่าในงานเพียงอย่างเดียว แต่หมายถึงรวมไปถึงพื้นที่ที่ไม่สำคัญหรือ Background ด้วย ในการออกแบบงานกราฟิกที่ว่างจะเป็นตัวช่วยในงานดูไม่หนักจนเกินไป และถ้าควบคุมพื้นที่ว่างนี้ให้ดี ๆ ที่ว่างก็จะเป็นตัวที่ช่วยเสริมจุดเด่นให้เห็นได้ชัดเจนมากขึ้น


 สี (Color)



สี (Color)


     สีของงานกราฟิก ถือเป็นหัวใจหลักสำคัญเลยก็ว่าได้ เพราะการเลือกใช้สีจะแสดงถึงอารมณ์ที่ต้องการได้ชัดเจนมากกว่าส่วนประกอบอื่น ๆ ทั้งหมด เช่น สีโทนร้อน สำหรับงานที่ต้องการความตื่นเต้น ท้าทาย หรือสีโทนเย็นสำหรับงานต้องการให้ดูสุภาพ สบาย ๆ สำหรับเรื่องสีเป็นเรื่องที่ต้องพูดถึงละเอียดมากกง่าหัวข้ออื่น ๆ ดังนั้นจึงขอยกไปอธิบายไว้เป็นเรื่องใหญ่ ๆ ในหัวข้อต่อไป


 ตัวอักษร (Type)

ตัวอักษร (Type)



             ตัวอักษรเป็นสิ่งสำคัญไม่เป็นรองใคร เมื่อต้องทำงานกราฟิกดีไซน์ ในเรื่องงานกราฟิกที่ดีบางงาน นักออกแบบอาจจะใช้เพียงแค่ตัวอักษรและสีเป็นส่วนประกอบเพียงสองอย่าง เพื่อสร้างสรรค์งานที่สามารถสื่อความหมายออกมาได้ในดีไซน์ที่สวยงาม ดังนั้น เรื่องนี้จะต้องยกไปอธิบายให้ละเอียดมากขึ้นในหัวข้อใหญ่ ๆ ต่อไปจากเรื่องสี
thanks by sharing


อ้างอิงจาก http://www.km-web.rmutt.ac.th/?p=64

สิ่งสำคัญที่กราฟฟิกดีไซเนอร์ต้องมี


สิ่งสำคัญที่กราฟฟิกดีไซเนอร์ต้องมี



ภาพจาก http://www.seesketch.com



1. ความชำนาญ คือความชำนาญในการใช้โปรแกรมกราฟฟิกต่าง ๆ อาจจะไม่ต้องชำนาญหลาย ๆ โปรแกรม แต่ขอให้รู้จริงเพียงโปรแกรมเดียวก็เหลือเฟือแล้ว
ความชำนาญ สามารถหาได้จากหลายทาง แต่ที่แน่ ๆ ก็คือ การฝึกฝน ลำพัง การอ่าน หรือ การหาความรู้แต่เพียงอย่างเดียว ไม่สามารถที่จะทำให้คนเก่งกล้าสามารถได้ แต่ต้องอาศัยการฝึกหัดบ่อย ๆ จนเกิดความชำนาญ รู้จริง รู้ลึก ในสิ่งนั้น ผมจะขอแนะนำวิธีการฝึกฝนตนเองสัก 3 วิธี ให้เป็นแนวทาง ตามแต่จริตของแต่ละคนนะครับ

         1.1 วิธีการฝึกตามแบบอย่างการฝึก คือ การฝึก ตามหนังสือ หรือ บทความ วิธีนี้ดี คือ ไม่ต้องคิดเอง แค่ลองทำตามเท่านั้น แต่จะไม่ทำให้คุณเกิดความคิด แรกเริ่ม ควรจะหัดตามวิธีนี้เสียก่อน ถือว่าเป็นก้าวแรกแห่งการฝึกฝน เพื่อนำไปพัฒนาต่อไป ในคราวต่อไป เมื่อเราต้องการทำงานแบบใด เราจะได้มานึกถึง งานเก่า ๆ ที่เคยฝึกไว้ และสามารถนำมาใช้ได้ทันที

        1.2 วิธีการตั้งโจทย์ วิธีการตั้งโจทย์เป็นการบังคับตนเองให้ฝึกหัดในวิธีที่แตกต่างออกไปจากที่ตนเองถนัด โดยมีวิธีการตั้งโจทย์แยกย่อย ออกไปดังนี้

               1.2.1 การตั้งโจทย์จากเครื่องมือ คือการกำหนดว่าวันนี้เราจะใช้เครื่องมือใดเครื่องมือหนึ่งเป็นพระเอกในงานของเรา เช่น clone stamp , type tool เป็นต้น โดยในงานนั้นจะต้องพยายามใช้เครื่องมือนั้นให้มากที่สุด เครื่องมืออื่น ๆ เพียงแค่เสริมเท่านั้น วิธีนี้มีประโยชน์คือ เราจะได้พัฒนาฝีมือเฉพาะทาง เจาะลึกเป็นตัว ๆ ไปเลย และจะทำให้พื้นฐานของเราแน่นปึ๊ก การฝึกขอให้ลองตั้งโจทย์กับเครื่องมือทุกตัว บางตัวฝึกแค่ครั้ง สองครั้ง ก็ชำนาญ เพราะไม่มีอะไรมาก บางตัวใช้เวลานาน เพราะรายละเอียดและลูกเล่น มีเยอะ 

               1.2.2 การตั้งโจทย์จากภาพ คือ การเลือกภาพ มาหนึ่ง หรือ สองภาพ หรือ กี่ภาพก็แล้วแต่ แล้วนำมาแต่งอย่างไรก็ได้ตามแต่จะคิดออก ใช้เครื่องมืออะไรก็ได้ตามใจ เทคนิคก็ฟรีสไตล์ วิธีนี้เป็นวิธีที่น่าจะเหมาะกับทุกคนมากที่สุด เพราะสามารถทำตามใจได้มากที่สุด ตั้งแต่การเลือกภาพ จนวิธีการทำงาน ประโยชน์ก็คือ เราจะทำให้เรามีจินตนการเพิ่มขึ้น เมื่อหัดบ่อย ๆ จะเกิดความคิดได้รวดเร็ว และสามารถมององค์ประกอบของภาพได้ดีขึ้น

               1.2.3 การตั้งโจทย์จากความต้องการ วิธีนี้เป็นวิธีที่ยาก ให้ลองคิดว่ามีคนมาจ้างเราให้ทำงานสักงานหนึ่ง เราก็ตั้งโจทย์ขึ้นมาเลย เช่น ทำภาพโปสเตอร์ประกวดนายแบบ นางแบบ หรือ หนุ่มสาวแพรว อะไรก็ว่าไป , หรือทำปกซีดีเพลงแดนซ์ , ทำโปสเตอร์เชิญชวนรักษาความสะอาด ,ออกแบบแพ็กเกจ เป็นต้น วิธีนี้เราจะสามารถทำตามใจได้น้อยลง เพราะมีข้อบังคับเพิ่มขึ้น เมื่อฝึกมากเข้า อาจจะกำหนดว่า ต้องมีรายละเอียดของข้อมูลครบถ้วน , ภาพต้องใช้โทนซีเปีย อย่างนี้เป็นต้น การฝึกแบบนี้มีประโยชน์ต่อการทำงานจริง เพราะในการทำงานเราจะเจอลูกค้าหลากหลาย บางคนไม่เข้าใจศิลปะเลย Hard Sell อย่างเดียว เรียกได้ว่าจะขายของอย่างเดียวนั่นแหละ ศิลปะไม่ต้อง ซึ่งสำหรับคนที่สร้างงานศิลปะอย่างเราจะหงุดหงิดมาก ถ้าไม่ได้ฝึกมาก่อน ดังนั้นการฝึกแบบนี้ก็สามารถทำให้เราแบ่งรับแบ่งสู้ระหว่างศิลปะกับธุรกิจได้ และอาจจะมองหารอยต่อระหว่างสองสิ่งนั้นเจอก็ได้ 

        1.3 การฝึกโดยการเลียนแบบ คือ การฝึกโดยทำภาพเลียนแบบงานของคนอื่นเค้าให้เหมือนที่สุด เหมือนในที่นี้คือเหมือนทางเทคนิคนะครับ เช่นคุณไปเห็นงานชิ้นหนึ่ง อาจจะใน หนังสือ , ป้ายรถเมลล์ , เว็บไซต์ ฯลฯ คุณก็มาลองคิดดูว่าเค้าน่าจะใช้เทคนิคอะไรในการสร้างภาพนั้น คุณอาจจะใช้เทคนิคต่างจากเค้าก็ได้ แต่ได้ภาพออกมาเหมือนกัน หรือบางทีคุณกับเค้าอาจจะใช้คนละโปรแกรมเลยก็ได้ แต่ได้ผลลัพธ์ในลักษณะเดียวกัน วิธีนี้แนะนำอะไรได้ไม่มากครับ คนที่จะฝึกวิธีนี้ต้องมีความชำนาญในเครื่องมือและฟังก์ชั่นต่าง ๆก่อน ยิ่งเป็นเทคนิคยาก ๆ ต้องมีความรู้และความชำนาญมาก จากนั้นก็เป็นเรื่องของแต่ละคนที่จะวิเคราะห์เองแล้วล่ะครับ 

2. ความรู้ในศิลปะ ในเมื่องานกราฟฟิกดีไซน์ ก็คืองานศิลปะแขนงหนึ่ง ความรู้ทางศิลปะจึงขาดเสียมิได้เลย ความรู้ทางศิลปะพื้นฐานก็ได้แก่ ทฤษฎีสี , การจัดองค์ประกอบ ,ลายเส้น , ลายไทย ,ลวดลายสากล , นอกจากนี้ ก็ควรจะมีความรู้ในการชมงานศิลปะอยู่ด้วย , ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ศิลป์ , การแบ่งประเภทงานศิลป์

3. ความคิดสร้างสรรค์ ความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยในการสร้างงานศิลปะ การพัฒนาเทคนิคต่าง ๆ ก็ถือเป็นความคิดสร้างสรรค์เหมือนกัน เราต้องพยายามสร้างงานที่แตกต่างออกมา ไม่ว่าจะเป็นในด้านเทคนิค หรือ ด้านการสื่อสารจากภาพสู่ผู้เสพ 

4. ความรู้ทางด้านอุปกรณ์เอาท์พุต ทำไมคนที่ทำงานทางด้านกราฟฟิกจึงต้องมีความรู้ทางด้านนี้ เพราะอุปกรณ์เอาท์พุต คือสิ่งสำคัญที่จะแสดงคุณภาพงานของเรา จำไว้เสมอว่า เราทำภาพในเครื่องเราว่าสวยแล้ว แต่ไปดูอีกเครื่องหนึ่ง ภาพของคุณสีจะเพี้ยนไปเลย ยิ่งถ้าคุณทำงานในด้านสื่อสิงพิมพ์ คุณยิ่งต้องระวัง ต้องมีการเซ็ทค่าเอาท์พุต ให้สามารถแสดงสีออกมาได้ถูกต้อง อุปกรณ์อินพุตก็เหมือนกัน แต่อาจจะสำคัญน้อยกว่า สิ่งสำคัญของอุปกรณ์อินพุตก็คือ ต้องนำเข้าภาพที่มีคุณภาพ มีความละเอียดสูง ส่วนเรื่องสี และแสงสามารถมาปรับแต่งกันได้ทีหลัง 
สำหรับคนที่ทำงานทางด้านเว็บ คุณอาจจะไม่ต้องระวังเรื่องสีมากนัก สิ่งที่ต้องพึงระวังก็คือ เรื่องของ Browser Browser ต่างค่าย จะแสดงผลที่แตกต่างกัน , Resolution ของหน้าจอ 
สำหรับคนที่ทำงานทางด้าน Multimedia Presentation คุณต้องคำนึงถึงคุณภาพของโปรเจ็คเตอร์ ว่าแสดงสีเป็นอย่างไร ต้องมีการทดลองกับโปรเจ็คเตอร์จริง ๆ ก่อน หรือแม้แต่การเอาท์พุต ออกทางทีวีก็ตาม สีที่มองเห็นที่หน้าจอโทรทัศน์ ย่อมแตกต่าง จากสีในจอมอนิเตอร์ของคุณแน่นอน 

5. ความสนใจในเหตุการณ์รอบตัวต่าง ๆ ข้อนี้อาจจะไม่จำเป็นนัก แต่ก็มีส่วนสำคัญในการสร้างความแตกต่าง และการเสริมลูกเล่นในงานของคุณ โดยคุณอาจจะนำเรื่องราวที่เกิดขึ้นในสังคมขณะนั้นมาใส่ในงานของคุณ เพื่อให้งานน่าสนใจ แต่งานนั้นจะมีความโดดเด่นในช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น

6. เปิดหูเปิดตา คือการออกไปหาแรงบันดาลใจภายนอก อย่านั่งอยู่แต่ในบ้าน ออกไปภายนอกท่องเที่ยวเสียบ้าง หรือ ดูหนัง ฟังเพลง อ่านหนังสือ สวดมนต์ หรือ ทำอย่างอื่นนอกจากนั่งออกแบบอยู่กับบ้านบ้าง เพื่อให้สมองไม่ตัน จะได้มีไอเดียใหม่ตลอดเวลา


อ้างอิง http://www.oknation.net/blog/print.php?id=59561

INFOGRAPHIC

Infographics คืออะไร 




       Infographic ย่อมาจาก Information Graphic คือ ภาพหรือกราฟิกซึ่งบ่งชี้ถึงข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นสถิติ ความรู้ ตัวเลข ฯลฯ เรียกว่าเป็นการย่นย่อข้อมูลเพื่อให้ประมวลผลได้ง่ายเพียงแค่กวาดตามอง ซึ่งเหมาะสำหรับผู้คนในยุคไอทีที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลซับซ้อนมหาศาลในเวลาอันจำกัด ( เหตุผลเพราะมนุษย์ชอบและจดจำภาพสวยๆ ได้มากกว่าการอ่าน )  และในปัจุบันกำลังเป็นที่นิยมในโลกของ Social Netword

       ประโยชน์และพลังของ Infographic นั้นมีอยู่มากมาย เพราะด้วยแผนภาพสวยๆนี้ สามารถทำให้คนทั่วๆไปสามารถเข้าถึง เข้าใจ ข้อมูลปริมาณมากๆ ด้วยแผนภาพภาพเดียวเท่านั้น ด้วยข้อมูลที่ถูกคัดกรองมาเป็นอย่างดี ทำให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่าย เป็นวิธีการนำเสนอข้อมูลเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งเราสามารถหยิบยกเรื่องราวเล็กๆ ไปจนถึงเรื่องราวใหญ่โตมานำเสนอ ในมุมมองที่แปลกตา ทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ในโลกปัจจุบัน  โดยรูปแบบหรือประเภทของ Infographic ตามวัตถุประสงค์ในการใช้งาน สามารถจัดหมวดหมู่ใหญ่ๆได้ดังนี้


1.ข่าวเด่น ประเด่นร้อน และสถานการณ์วิกฤต 

    เป็น Infographics ที่ได้รับการแชร์มากๆ มักจะเป็นประเด็นใหญ่ระดับประเทศ เช่น ประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ




2.สอน ฮาวทู

   บอกเล่ากลยุทธ์ต่างๆอย่างเป็นขั้นเป็นตอน เช่น เล่าถึงกลยุทธ์การออมเงิน ที่ใครๆก็มักมองข้าม




3.ให้ความรู้

    ในรูปแบบของ Did You Know หรือ สถิติสำคัญทางประชากรต่างๆตลอดจนการถ่ายทอดความรู้ทางวิชาการที่น่าเบื่อ ให้มีสีสัน สนุก และ น่าติดตาม


4.บอกเล่าตำนานหรือวิวัฒนาการ

 เรื่องราวบางอย่างอาจต้องถ่ายทอดผ่านตำราหนาๆ แต่ด้วย Infographics จะช่วยทำให้ตำนานเหล่านั้นบรรจุอยู่ในพื้นที่ๆจำกัดได้อย่างน่าทึ่ง 


5.อธิบายผลสำรวจ และ งานวิจัย

   Infographics เหมาะที่สุดที่จะถ่ายทอดงานวิจัยที่ดูยุ่งเหยิงไปด้วยตัวเลขและข้อมูลมหาศาลออกมาเป็นแผนภาพสวยๆและทรงพลัง มีหลายบริษัทเริ่มใช้เครื่องมือนี้ เพื่อทำให้งานวิจัยของตัวเองเข้าถึงคนหมู่มาก


6.กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

   เช่น ภัยของการสูบบุรี่ที่มีต่อคนสูบและคนที่ไม่ได้สูบแต่ต้องได้รับผลกระสูบจากการสูบบุรี่ด้วย ขอเท็จจริงเหล่านี้ล้วนมุ่งหวังให้คนอ่านเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนในสังคมให้ดีขึ้น หากได้รับการแชร์มากๆในโลกออนไลน์ ก็อาจสร้างกระแส จนถึงขั้นนำพาไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในโลกออนไลน์ในที่สุด



7.โปรโมทสินค้าและบริการ

    ตัวอย่างการใช้ Infographic ในการ โปรโมทสินค้า



แหล่งที่มา 

https://www.facebook.com/infographic.thailand

http://www.flashfly.net/wp/?p=33832

http://www.marketplus.in.th/

http://www.socialpost.in.th

https://www.facebook.com/Pasit.CRM 









หน้าที่ของกราฟฟิกดีไซน์


หน้าที่ของ Graphic Design


รูปภาพ http://www.siam1.net/article-22388.html


1.เพื่อบอกเล่าเรื่องราวหรือรายละเอียดสิ่งต่างๆ
(to inform)เช่น สัญลักษณ์บอกทำงานในโรงพยาบาลที่ต้องการเข้าถึงแผนกต่างๆ อย่างรวดเร็วและชัดเจน โดยมันจะเป็นตัวช่วยลดควำมสับสนต่อการหาตำแหน่งของแผนกต่างๆ

2. เพื่อแสดงถึงลักษณะของบุคคลหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
(to Identity) กราฟฟิก ดีไซน์เกี่ยวข้องกับการสื่อสารบุคลิกของสิ่งนั้นๆ ออกมาอย่างมีเอกลักษณ์ เช่น โปสเตอร์ต่อต้านสงครามอาจมีลักษณะสีที่ให้อารมณ์จริงจังหรือสะเทือนใจ


3. เพื่อโน้มน้าวหรือชักจูง
(to Persuade) กราฟฟิกมีหน้าที่ในการขับเน้นข้อดีของสิ่งที่เราพูดถึง เช่น เราออกแบบโลโก้ของธนาคารแห่งหนึ่ง เราก็ควรใช้องค์ประกอบศิลป์ที่สื่อถึงความมั่นคง ซื่อสัตย์ น่าเชื่อถือ


Graphic คือ ?


Graphic Design




    รูปภาพ http://expertdata.blogspot.com/2008/10/love-love.html

           คำว่า กราฟฟิก (Graphic) หรือที่ภาษาไทยบางส่วนนิยมเขียนว่า กราฟฟิก เป็นภาษากรีก มาจากคำว่า Graphikos ที่หมายถึงการเขียนภาพด้วยสีและภาพขาวดำ และคำว่า Graphein มีความหมายทั้งการเขียนด้วยตัวหนังสือและการสื่อความหมายโดยการใช้เส้น หากรวมทั้งคำว่า Graphikos และ Graphein เข้าด้วยกัน กราฟฟิกจะหมายถึงวัสดุใด ๆ ซึ่งแสดงความจริง แสดงความคิดอย่างชัดเจน โดยใช้ภาพวาด ภาพเขียน และข้อความตัวอักษร ภาพวาดอาจจะเป็น แผนภาพ ( Diagram ) ภาพสเก็ต ( Sketch ) หรือแผนสถิติ ( Graph ) หรืออาจเป็นคำที่ใช้เป็นหัวเรื่อง ( Title ) คำอธิบายเพิ่มเติมของแผนภูมิ แผนภาพ แผนสถิติ และภาพโฆษณา อาจวาดเป็นการ์ตูนในรูปแบบหรือประเภทต่างๆ ภาพสเก็ต สัญลักษณ์ และภาพถ่าย สำมารถใช้เป็นกราฟิกเพื่อสื่อความหมายในเรื่องราวที่แสดงข้อเท็จจริงต่าง ๆได้